ความเป็นมาของโครงการ
สืบเนื่องจากสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ตระหนักถึงความสําคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีบทบาทสําคัญมากขึ้นในด้านการศึกษาการพัฒนาการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง ด้วยระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ซึ่งเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือ ทําให้การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถจัดการเรียน การสอนในระยะไกลได้ สามารถจัดการเรียนการสอนเป็นแบบการสื่อสารสองทางการจัดห้องเรียนเครือข่าย ทําให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่อยู่ในสถานที่และห้องเรียนห่างกัน เป็นห้องเรียนเสมือนจริง เพื่อให้การใช้ระบบดังกล่าวเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและขยายผลได้กว้างขวางมากขึ้น สํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้ร่วมมือกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดทํา โครงการการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมแบบสื่อสารสองทางสําหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์และสํานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
ปี พ.ศ. 2565 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อนุมัติให้สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนร่วมกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินโครงการจัดการศึกษาทางไกลแบบสื่อสารสองทาง สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระยะที่ 2 ในโรงเรียนต้นทางและโรงเรียนปลายทางเดิม ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 – 2567 (รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2565 ศึกษาต่อเนื่องจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2567) และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนจัดทำโครงการจัดการศึกษาทางไกลแบบสื่อสารสองทาง สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระยะที่ 2 ปีที่ 1 โดยดำเนินกิจกรรมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนในโครงการ ณ โรงเรียนต้นทาง ทั้ง 5 ภูมิภาค
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนสอนเห็นควรจัดทำโครงการจัดการศึกษาทางไกลแบบสื่อสารสองทาง สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระยะที่ 2 ปีที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องที่ช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา และสร้างโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่นักเรียนโรงเรียนปลายทางที่อยู่ห่างไกล ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนระดับชาติและกระทรวง และนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนปลายทางในโครงการ
๒. เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในโครงการ
๓. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลแบบสื่อสารสองทาง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้มีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น